Friday, February 16, 2018

ข้อควรจำของภาษาจาวาสคริป์ (javascript)

ข้อควรจำของภาษาจาวาสคริป์ (javascript)

1. javascript เป็นภาษา Case-sensitive คือ ชื่อเดียวกัน แต่ตัวเล็กตัวใหญ่ไม่เหมือน ก็จะถือว่าเป็นตัวแปรคนละตัว

2. ใช้ภาษา   Unicode

3. statement คือ โค้ดภาษาจาวา โดยใช้ ; ( semi-colon ) เป็นอักขระในการจบ statement

4. white space คือ การกด space bar , กด tabs และการขึ้นบรรทัดใหม่

5. comment 1 บรรทัดใช้ //

6. comment หลายบรรทัดใช้ /*.......*/

7. การประะกาศตัวแปร : var , let , const

8. ตัวอักขระพิเศษที่สามารถใช้เป็นชื่อตัวแปรได้ : underscore ( _ ), dollar sign ( $ ) , 0-9 , A-Z , a-z

9. undefined คือตัวแปรที่สร้างขึ้น แต่ไม่มีค่า หรือไม่ถูก assign ค่าให้

10. null คือ  0 หรือ false

11 const การประกาศตัวแปรที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้

12 variable type : boolean , null , undefined , number , string , symbol . , Ojbect

13 ประเภทข้อมูลที่จาวาสคริปต์รับได้ :  Array , Boolean , Floating-point , integers  Object , RegExp , String

14 ตัวอักษรพิเศษที่ใช้บ่อย :
          \b  = backspce
          \n = new line
       

Thursday, February 15, 2018

javascript คืออะไร


จาวาสคริปต์ คือ ภาษาเขียนโปรแกรมที่สามารถเขียนได้ด้วยแนวคิด procedure ซึ่งเป็นแนวทางการเขียนเพื่อให้ javascript ทำงานตั้งแต่บรรทัดบนสุดของไฟล์ไปจนถึงบรรทัดล่างสุด 


หรือว่าจะเป็นการเขียนโปรแกรมแบบ การเขียนเชิงวัตถุ (Object-Oriented) ก็สามารถทำได้เช่นกัน 


ไม่เพียงเท่านี้ จาวาสคริปต์ ยังสามารถใช้หลักการ write-once, run anywhere ได้ด้วย คือ การเขียนโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ในสภาวะแวดล้อม (environment) ที่ต่างกันออกไป เช่น


การเขียนโปรแกรมให้สามารถทำงานบนเครื่องลูกข่าย หรือ เครื่องแม่ข่าย ได้โดยไม่ต้องแก้ไข Source Code หลายรอบ



javascript and ECMAScript

ECMA Script คือ ภาษาจาวาสคริปต์ที่เขียนตามกฎเกณฑ์ของ องค์กร Ecma International โดยอ้างอิงการเขียนด้วยภาษาจาวาสคริปต์ 

Friday, November 18, 2016

ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์คืออะไร

     ภาษาคอมพิวเตอร์คือ สิ่งที่ใช้ในการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ จบค่ะ ง่ายๆ สั้นๆ

     คอมพิวเตอร์นอกจากจะต้องสั่งให้ทำงานแบบเป็นขั้นตอนแล้ว สิ่งที่ต้องใช้สั่งคือ ภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็เหมือนๆ กันกับภาษาที่คนใช้สื่อสาร

     มีคำศัพท์
     มีวิธีการใช้งาน ถ้าเป็นภาษาคนก็เรียกกันว่า แกรมมาร์นั่นเอง

    


ภาษาคอมพิวเตอร์มีเยอะแยะมากมาย เหมือนภาษาคนเราเลยละค่ะ เพราะฉะนั้น โปรแกรมเมอร์ก็จำเป็นจะต้องเลือกเฟ้น ภาษาที่อยากจะใช้งาน 

แต่ภาษาคอมพิวเตอร์จะดีกว่าภาษาคนอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ถ้าเข้าใจหลักการมันอย่างถ่องแท้ คุณจะเขียนภาษาไหนก็ได้ เพราะที่คุณต้องทำความเข้าใจคือ คำศัพท์ของภาษานั้น แต่ลักษณะการเรียงลำดับใช้งานจะคล้ายๆ กัน ไม่เหมือนภาษาคนที่ บางครั้งจะเอาประธานไว้ข้างหน้า บางจังหวะเวลาจะเอาไว้ข้างหลัง 

ปัจจุบันภาษาที่เป็นที่นิยมกัน (ปี 2016) คือ
1. C
2. Java
3. Python
4. C++
5. R
6. C#
7. PHP
8. Javascript
9. Ruby
10. Go

ข้อมูลจาก website IEEE 

จะใช้ภาษาไหนเป็นหลัก ก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ว่าต้องการโปรแกรมสำหรับใช้งานประเภทไหน รูปแบบการใช้งานโปรแกรมเป็นแบบไหน จำนวนผู้ใช้งานมากขนาดไหน เป็นหลักในการเลือก 

Sunday, November 18, 2012

โปรแกรมเมอร์ โปรแกรมมั่ว

โปรแกรมเมอร์ อาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน

เรามาทำความรู้จักโปรแกรมเมอร์ที่แท้จริงกันค่ะ

โปรแกรมเมอร์คืออะไร คือใครกันแน่ 
     โปรแกรมเมอร์คือ คนที่วันๆ นั่งจ่อมจมอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ กับตัวหนังสือแปลก ๆ ยาวเหยียด ทั้งวัน ทั้งคืนเพื่อเปลี่ยนตัวหนังสือเหล่านั้นให้เป็น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 

     โปรแกรมเมอร์ คือ อาชีพที่วันๆ ต้องเจอกับ ปัญหา ปัญหา และ ปัญหา ความเครียดจะบังเกิดแน่นอน เพราะถ้าไม่มีปัญหา โปรแกรมใหม่ๆ ก็จะไม่มีทางเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

     ที่บอกอย่างนี้ไม่ใช่ว่า จะพูดให้กลัวให้เลิกฝัน แต่อยากให้ทราบข้อเท็จจริงเพื่อ จะได้ไม่เสียเวลา เพราะมักจะได้ยินเสมอว่า อาชีพนี้ถ้ามันจะเครียดขนาดนี้ ไม่น่าเรียนมาทางนี้เลย  

      อาชีพนี้ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นเหมือนที่เห็นกันในหนังดังๆ
     
อยากเป็นโปรแกรมเมอร์ต้องทำยังไง
     เส้นทางสู่โปรแกรมเมอร์ไม่ยาก เก่งคำนวณเหรอ ไม่จำเป็น (แต่ก็ต้องมีไว้บ้าง) แต่สิ่งที่ต้องเก่งคือ ตรรกศาสตร์ และการคิดแบบขั้นตอนกระบวนการทำงาน หรือที่เรียกกันว่า Logical Thinking นั่นเอง

ทำไมถึงต้องเป็นตรรกศาสตร์และการคิด
     เพราะ การสั่งคอมพิวเตอร์ทำงาน ไม่ง่ายเหมือนสั่งคน 
     สั่งคนทอดไข่ ก็แค่ เอาไข่ตอก ๆ ตีๆ ทอดบนกระทะร้อน ๆ สุกแล้วใส่จาน จบ
     แต่สั่งคอม จะต้องสั่ง
            1.  เอาไข่มาสองฟอง ให้หยินมาทีละฟองสองรอบ
            2.  เอาช้อนตีไข่จนแตก เทไข่ใสถ้วย เอาเปลือกทิ้ง ทำแบบนี้สองรอบ
            3.  ใช้ที่ตีไข่ คนไข่แรงๆ 10 รอบ
            4.  เอากระทะวางบนเตาแก๊ส 
            5.  เทน้ำมันใส่ หนึ่งช้อนโต๊ะ สองรอบ 
            6.  เปิดเตาแก๊ส ไฟกลาง 2 นาที
            7.   เทไข่ใส่กะทะ 3 นาที 
            8.   เทไข่จากกะทะใส่จาน 
      เห็นมั้ยคะว่ามันมากขึ้นตอนกว่ากันเยอะ
      นี่คือสิ่งที่โปรแกรมเมอร์ทำ มันไม่ใช่การคำนวณตลอดเวลา แต่เป็นการคิดแบบกระบวนการตลอดเวลา
   
นี่แหละค่ะ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า โปรแกรมเมอร์